การเปลี่ยนกรอบครอบไดอาแฟรม
-
ปิดสวิทช์ และดึงปลั๊กออกก่อนทุกครั้ง
-
ถอดน็อตทั้ง 4 มุมของปั๊มเพื่อที่จะถอดโครงปั๊มออก ในกรณีที่ซีลยางข้างในติดไม่สามารถดึงโครงปั๊มออกมา ให้สอดปลายไขควงปากแบนไปบริเวณช่องเหนือท่อเป่าเพื่องัดออก
-
ถอดแถบเก็บเสียงของปั๊มออก ถอดแหวนรัดท่อแล้ว ดึงปลายท่อรูปตัว L ออกจากกรอบครอบไดอาแฟรม ถอดน็อตที่กรอบครอบไดอาแฟรม แล้วเปลี่ยนตัวใหม่
-
ใส่อะไหล่ใหม่เข้าที่เดิมแล้วขันน็อตให้แน่น สวมท่อเป่าของกรอบครอบไดอาแฟรมเข้ากับท่อรูปตัว L สวมแหวนรัดท่อเข้าที่เดิม
การทำความสะอาด และเปลี่ยนกรองอากาศ
-
ก่อนจะทำความสะอาด หรือเปลี่ยนกรองอากาศ ให้แน่ใจว่าปิดสวิทช์หรือตัดไฟฟ้าแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร
-
ดึงฝาครอบอากาศขึ้นมา
-
ดึงกรองอากาศออกมาเพื่อทำความสะอาด หรือเปลี่ยน ควรทำความสะอาดที่ส่วนของท่อดูดที่ฝาครอบไส้กรองอากาศและท่อดูดของกรองอากาศ ถ้ากรองอากาศสกปรกมาก ใช้น้ำผสมผงซักฟอกอ่อนๆ ล้าง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด กรองอากาศต้องแห้งก่อนการใช้งาน
ข้อระวัง
-
จะเกิดความร้อนที่ปั๊ม ขณะที่ใช้งาน
-
ควรทำความสะอาดกรองอากาศทุก 3 เดือน กรองอากาศที่ตันเป็นสาเหตุของความร้อนสูงผิดปกติของตัวเครื่องหรือทำให้เครื่องขัดข้อง
-
การอุดตันของท่อดูดเป็นสาเหตุของเสียงดัง และปั๊มขัดข้อง
-
ใส่ไส้กรองอากาศเข้าที่แล้วปิดฝาครอบ ยึดฝาครอบกับตัวปั้มให้แน่น
ข้อระวัง
หลักการทำงานของปั้ม
เมื่อกระแสไฟไหลผ่านขดลวดที่พันอยู่กับลวดแม่เหล็ก จะทำให้เกิดพลังแม่เหล็กจากไฟฟ้าจะเป็นแรงดันให้แท่งแม่เหล็กถาวรที่อยู่ใน ปั้มยึดติดกับก้านเหล็ก ก้านเหล็กนั้นจะขยับในลักษณะดึงเข้า และชักออก ซึ่งจะเป็นความถี่เดียวกับกระแสไฟ AC การที่ก้านเหล็กขยับส่งผลให้ระยะห่างระหว่างแผ่นไดอะแฟรม และเสื้อไดอะแฟรมเปลี่ยนไปตามจังหวะ การที่ก้านแม่เหล็กและแผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนที่จะทำให้เกิดการไหลเวียนของ อากาศ ดังนี้
-
ก้านเหล็กและแผ่นไดอะแฟรมถูกดึงเข้า : อากาศถูกดึงเข้า
-
ก้านเหล็กและแผ่นไดอะแฟรมถูกดันออก : อากาศถูกเป่าออก
-
ไฟ AC ที่ความถี่ 50 Hz ทำรอบได้ 3000 ครั้ง/นาที
-
ไฟ AC ที่ความถี่ 60 Hz ทำรอบได้ 3600 ครั้ง/นาที
การติดตั้ง
-
ในกรณีใช้งานปั๊มเพื่อเติมอากาศลงใน ของเหลวควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าปั๊มถูกติดตั้งสูงกว่าระดับของเหลวนั้นๆ เพื่อป้องกันปัญหาของเหลวไหลย้อนกลับเวลาปิดเครื่อง
-
ไม่ควรเก็บปั๊มในที่ชื้น และที่สกปรก
-
ควรวางปั๊มในแนวนอน และยึดปั๊มให้มั่นคงทุกครั้งที่ใช้งาน
การใช้สายกราวน์ (ปลั๊ก 3ขา)
การใช้สายกราวน์เป็นวิธีป้องกันการเกิด ไฟฟ้าลัดวงจร ปั๊มลมจะติดตั้งปลั๊ก 3 ตา มาด้วย การใช้ปลั๊ก 3 ตา ต้องใช้คู่กับเต้าเสียบ 3 ตา ที่ติดตั้งอย่างเหมาะสม ในบางกรณี อาจมีการใช้ปลั๊กแปลง เพื่อจะใช้ปั๊มลมกับเต้าเสียบแบบ 2 ขา การใช้ปลั๊กแปลง ควรใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
การใช้งานและดูแลรักษา
การใช้งานควรจะติดตั้งปั๊มในที่ที่เหมาะสม ควรทำความสะอาด หรือเปลี่ยนไส้กรองอากาศอยู่เสมอ ในตัวปั๊มลมไม่มีส่วนที่เลื่อนไปมาได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่น อากาศที่ออกจากปั๊มจึงเป็นอากาศที่สะอาดและบริสุทธิ์ **ควรหลีกเลี่ยงการดัดแปลง แก้ไข หรือซ่อมแซมด้วยตัวเอง**
ข้อระวังในการใช้งาน
-
ควรใช้ปั๊มอย่างระมัดระวัง ในกรณีที่อุปกรณ์ถูกใช้ หรือติดตั้งใกล้เด็ก
-
สินค้านี้ถูกออกแบบมาใช้เป่าอากาศออก ห้ามนำไปใช้ในน้ำหรือของเหลว ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
-
อุณหภูมิขณะใช้งานที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 41 องศาF (5 องศาC) ถึง 104 องศาF (40 องศาC)
-
การใช้งานในอุณหภูมิที่สูงกว่ากำหนด เป็นสาเหตุให้สินค้าเสียหาย หรือ ลดอายุการใช้งานของสินค้านั้นๆ การติดตั้งปั๊มควรเผื่อเนื้อที่เพื่อระบายความร้อนของปั๊มด้วย และไม่ควรปิดทางออกของลมในขณะที่ปั๊มทำงาน
-
ปิดสวิทซ์ไฟและดึงปลั๊กออกก่อนจะติด ตั้ง หรือ ต้องการแก้ไขทุกครั้งควรดึงปลั๊กไฟโดยจับที่ตัวปลั๊กแล้วดึง อย่าดึงปลั๊กไฟโดยดึงที่สายไป เพราะจะเกิดความเสียหายได้
-
หลีกเลี่ยงการใช้อะไหล่ หรือชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตราฐาน (ของปลอม)
-
ไม่ควรติดตั้งปั๊มในที่กลางแจ้ง หรือ ในที่ที่อุณหภูมิต่ำกว่าที่กำหนด
-
ก่อนใช้งานควรตรวจสอบการติดตั้งอีกครั้ง
-
อ่านและทำความเข้าใจกับเครื่องหมายบนตัวปั๊ม
-
ในกรณีที่เพิ่มสายไฟ ควรตรวจสอบก่อนว่าสามารถใช้ร่วมกันได้และติดตั้งให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน
ข้อควรระวังในการใช้ปั้ม
ความระมัดระวังในการใช้ปั๊มในสถานที่เปียกชื้น จะช่วยลดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรได้ ในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นควรจะส่งปั๊มไปที่ศูนย์บริการ หรือเปลี่ยนปั๊มใหม่ และไม่ควรทำการซ่อมปั๊มเอง
- กรณีปั๊มตกน้ำ ห้ามแตะ หรือจับตัวปั๊มเด็ดขาด! ควรดึงปลั๊กออกก่อน แล้วจึงค่อยนำปั๊มขึ้นมา ถ้าชิ้นส่วนไฟฟ้าของปั๊มเปียกชื้น ให้ปิดสวิตซ์ทันที
- เมื่อติดตั้งปั๊มแล้ว ควรตรวจสอบปั๊มให้ละเอียดก่อนใช้งาน อย่า! เสียบปลั๊กขณะที่ปลั๊กหรือสายไฟเปียกชื้น
- ในกรณีที่สายไฟ ปลั๊ก หรือปั๊มเสียหาย ทำงานผิดปกติให้หยุดใช้งานโดยทันที
- เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสาเหตุปลั๊กเปียกชื้น ตำแหน่งที่ติดตั้งตู้เลี้ยงปลา หรือแท็งก์น้ำควรไว้ข้างกำแพงติดกับทางลมออกของปั๊ม การติดตั้งปั๊มควรจะเผื่อระยะสายไฟกับเต้าเสียบไม่ให้ตึงเกินไป Drip loop หรือ การเว้นระยะห้อยของสายไฟจากเต้าเสียบก็เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่อาจจะเกาะ ตามสายไฟไหลไปยังเต้าเสียบซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ในกรณีที่ปลั๊กหรือเต้าเสียบเปียกชื้น "ห้ามดึงปลั๊กออก" ควรสับสวิทซ์ที่แผงวงจรตัดไฟก่อนแล้วจึงปลั๊กออก
- เลี่ยงการใช้ปั๊มใกล้สารระเหย เช่น น้ำมัน ทินเนอร์ เพราะอาจเป็นสาเหตุของการระเบิด